Heatstroke ภัยร้ายใกล้ตัว

Heatstroke ภัยร้ายใกล้ตัว

อากาศกำลังร้อนมากขึ้นทุกปี ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ร้อนมากขึ้น แต่ทั่วโลกตอนนี้กำลังประสบปัญหาเดียวกันจากภาวะโลกร้อน
(Global warming) หรือหายนะครั้งใหญ่ของโลกกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อ “ดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา” จะเป็นไปได้อย่างไรที่ดอกไม้จะเบ่งบานในประเทศที่เป็นน้ำแข็งและหนาวที่สุด จากรายงานนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอินซูเบรีย อิตาลี พบว่าน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลาย
เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ทั่วโลกประสบปัญหากับโรคที่มากับอากาศร้อน

Heatstroke รู้จักกันในชื่อโรคลมแดด คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับอากาศร้อนเป็นอย่างดีซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าจะรู้จักโรคนี้ดี จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรครายงานว่าระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ค. ตั้งแต่ปี 2558-2564 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนทั้งสิ้น 234 คน เฉลี่ย 33 คนต่อปี และมีรายงานผู้ป่วยพบมากถึงประมาณ 2,500-3,000 คนต่อปี นับว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถคร่าชีวิตและ
มีความเสี่ยงกับบุคคลที่มีกิจกรรมหรือปฏิบัติงานในที่ที่มีอากาศร้อน

สาเหตุของโรคลมแดด
โรคลมแดดหรือภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง โดยภาวะฮีทสโตรกมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์) หรือมากกว่าและมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง ซึ่งโรคฮีทสโตรกอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยบางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้

สัญญาณเตือนโรคลมแดดที่ควรระวัง

  • ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆแต่ไม่มีเหงื่อออก
  • ความดันโลหิตลดลง
  • หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
  • กระหายน้ำมาก
  • วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
  • คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  • อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป

การรักษาโรคลมแดด
การรักษาเบื้องต้น (First – Aid and Management) สามารถทำได้ด้วยการลดอุณหภูมิกาย 

  1. โดยพาผู้ป่วยเข้ามาในร่มหรือในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและมีอุณหภูมิที่เย็น 
  2. ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นเกินไป 
  3. อาจเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็นหรือใช้ถุงน้ำแข็งวางบริเวณศีรษะ ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ 
  4. ใช้สเปรย์น้ำเย็นพ่นหรือนำผู้ป่วยลงแช่ในอ่างอาบน้ำเย็นในระหว่างที่รอรถพยาบาล 
    *ที่สำคัญคือ ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มจำพวกนี้จะทำให้ความสามารถ
    ในการปรับอุณหภูมิของร่างกายสูญเสียไปและน้ำเย็นจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารได้

วิธีป้องกันโรคลมแดด

  • สวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง ระบายลมได้ง่าย หากรู้ว่าต้องไปอยู่ในที่อากาศร้อนหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • ป้องกันตัวเองจากแสงแดดด้วยเครื่องแต่งกาย เช่น แว่นกันแดดหรือหมวก
    และการใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • ระวังเรื่องยาและปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อการปรับอุณหภูมิของร่างกายหรือไม่
  • พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในที่อาการร้อนและถ่ายเทไม่สะดวก
    ในกรณีที่จำเป็น ให้ใช้เวลาในบริเวณดังกล่าว ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทราบกันอย่างนี้แล้ว หลายๆคนคงเกิดคำถามว่า ในประเทศไทยที่อากาศร้อนมากขนาดนี้ แต่ก็ยังคงต้องออกไปใช้ชีวิตท่ามกลางอากาศร้อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยรถสาธารณะ จ่ายตลาด ออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือการไปเที่ยวแล้วเจอกับอากาศร้อนๆ จะมีวิธีช่วยคลายความร้อนได้อย่างไรบ้าง? 

จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยต่างๆ เพื่อนำสมุนไพรไทยมาคิดค้นพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ช่วยมอบความสดชื่นและเป็นตัวช่วยให้การใช้ชีวิตหรือการทำกิจกรรมต่างๆของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น “ชมา เพอร์ฟูม บอดี้ สเปรย์ Shama Perfume Body Spray” สเปรย์สำหรับ ผู้รักกิจกรรมกลางแจ้ง ผสานส่วนผสมสมุนไพรน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติมอบกลิ่นหอมเย็น สดชื่น 

จากผลการศึกษางานวิจัยทางเภสัชวิทยา

  • น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในการรักษาอาการของโรคที่แพร่เชื้อ ทางอากาศ (Airborne infectious diseases) เช่น ไข้หวัด วัณโรคปอด คัดจมูก ไซนัสอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ และหอบหืด (Reference : www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8706319/)
  • น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินต์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทอัตโนมัติและทำให้อาสาสมัคร มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มากขึ้น ซึ่งนำผลที่ได้ไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีผลในด้านการกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น และมีความสามารถในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น เช่น นำไปใช้ในห้องเรียน ใช้ในด้านกีฬา หรือเป็นสเปรย์ปรับอากาศในรถ (Reference : นิพนธ์ต้นฉบับผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันเปปเปอร์มินต์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ และความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า)

“Shama Perfume Body Spray”    
หอมเย็น สดชื่น สู้ได้ทุกกิจกรรม

ที่มา :
1. www.thairath.co.th/scoop/theissue/2730808
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
3. www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/hot-weather-must-be-careful-of-heatstroke
4. owanonniwat.go.th/2015-05-20-04-22-08/627-โรคฮีทสโตรก-heat-strok.html
เรียบเรียงโดย พทป. ปุณณภา จันทร์จีรพงศ์